วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษานำลังกระดาษมาคนละ 1 ชิ้น เพื่อมาทำป้ายนิเทศหน่วยต่างๆที่ นักศึกษาสนใจ

โดยอาจารย์มีอุปกรณ์ต่างๆเตรียมไว้ให้ และให้นักศึกษาทำส่งในชั่วโมง


ป้ายนิเทศของข้าพเจ้าคือ หน่วยผัก


ครั้งที่ 12 วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2553

อาจารย์ให้ส่งแป้งโดว์ พร้อมอุปกรณ์การเล่น









ครั้งที่ 11 วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2553


อาจารย์ให้ นักศึกษาทำแป้งโดว์ โดยอาจารย์จะแจกวิธีการทำให้แต่ละกลุ่ม


ครั้งที่10 วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2553



อาจารย์นัดสอบ พร้อมกับส่งงานทีเหลือ และป๊อบอัพ




ครั้งที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2553

อาจารย์นัดนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อมาส่งงาน และอาจารย์ได้มีเกมการศึกษาต่างๆให้นักศึกษาได้ลองเล่นกัน เพื่อที่จะได้รู้จักวิธีการเล่นที่ถูกต้อง และสามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต

ครั้งที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2553

อาจารย์ได้สาทิตวิธีการเล่นเกมการศึกษา และวิธีการเล่นเกมการศึกษา
และได้มอบหมายให้นักศึกษาทำออกมาคนละ 1 ชิ้น โดยไม่ให้ซ้ำกัน



วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7 วันที่ 29 กรกฎาคม 2553

วันนี้อาจารย์ได้ติดธุระ จึงได้สั่งงานให้ทำคือ เกมการศึกษา ตามรูปแบบที่อาจารย์แจกให้ และให้นักศึกษาเลือกมาคนละ 1 ชิ้น


ของดิฉันคือ
เกมจับคู่ภาพเงา




















สาระ

เกมจับคู่ภาพเงา สามารถฝึกพัฒนาด้านความจำแก่เด็ก ให้เด็กมีความจำที่ดี ในการจดจำภาพต่างๆที่เป็นคู่กัน


ทักษะหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับคือ

การจดจำภาพ ที่มีรูปร่างเหมือนกัน

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

1. กระดาษแข็งเพื่อทำพื้นหลัง

2. กรรไกร

3. กาว

4. กระดาษสี

5. กระดาษกาว

วิธีทำ

1.นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามขนาดที่เราต้องการ เพื่อใช้เป็นฐาน

2. นำการะดาษสีมาวาดเป็นรูปการ์ตูนตามที่เราต้องการ อย่างละ 2 รูป รูปที่ 1 ระบายสีตามต้องการ รูปที่2

ระบายเฉพาะสีดำ

3.นำกระดาษกวามาแปะขอบของกระดาษแข็ง

4. นำมาเรียงบนฐานให้เรียบร้อย

ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฎาคม 2553

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย




ความสำคัญ


- ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม

- ได้รับประสบการณ์ตรง จำได้นาน

- รวดเร็ว,เพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย


ลักษณะของสื่อที่ดี

- ต้องมีความปลอดภัย

- ประโยชน์ที่เด้กได้รับ เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก,ความสนใจ

- ประหยัด - ประสิทธิภาพ


หลักการเลือกสื่อฯ

- คุณภาพสื่อ

- เด็กเข้าใจง่าย

- เลือกให้เหมาะสมกับคุณภาพของศูนย์

- เหมาะสมกับวัย - เหมาะสมกับเวลาที่ใช้

- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม - ถูกต้องตามเนื้อหา,ทันสมัย

- เด็กได้คิดเป็น ทำเป็น กล้าแสดงออก


การประเมินการใช้สื่อ (พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็ก และสื่อ)

- สื่อช่วยให้เด้กเกิดการเรียนรู้เพียงใด

- เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด

- สื่อช่วยให้เด็กสอบตรงกับจุดประสงค์ได้หรือไม่ ถูกต้องตามเนื่อหา ทันสมัย

ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ให้นำเสนอสื่อ

มาเรียนแต่ไม่ได้นำเสนอ เพราะไม่มีงานค่ะ

ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฎาคม 2553

การแบ่งประเภทของสื่อ


- ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
-ตามลักษณะของสื่อ

กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale)

เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1) ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น

2) ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้

3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
4) การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น

5) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น

6) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด

7) โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน

8) ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู

9) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้

10) ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ

11) วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด

การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่2 วันที่ 24 มิถุนายน 2553


อาจารย์อธิบายความหมายของสื่อ
สื่อ หมายถึง ตัวกลางที่ทำให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
สำหรับ สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางที่จะทำให้ผู้สอนบรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งข่าวสาร ข้อมูลความรู้ทางด้านการศึกษา ไปยังผู้เรียนโดยเน้นเนื้อกาอันเป็นความรู้ ตามหลักสูตรหรือกิจกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มที่
และให้ นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ตอบคำถามที่อาจารย์ตั้งให้